13th DIHAC cross-cultural exchange meeting analysis report (Thai)

2022.10.14

13th Digitally Inclusive, Health Aging Communities (DIHAC) study cross-cultural exchange meeting report (Thai)

Thitima Piyathanapong, Feng Qiushi, Karen Wee, Seokmi Hong, Myo Nyein Aung, Takeo Ogawa

Report in Japanese  Report in English 

การแลกเปลี่ยนการวิจัยและประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรมใน “Digital Inclusion” และ “Healthy Aging” เป็นการพัฒนาที่ทีมวิจัยของ DIHAC ให้การสนับสนุน ในการประชุม DIHAC ครั้งที่ 13 นี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐเกาหลีร่วมแบ่งปันประสบการณ์ทางวิชาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นนักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ อาทิเช่น นักวิจัยด้านสุขภาพระดับโลก นักระบาดวิทยา แพทย์ พยาบาล นักสังคม องค์กรเอกชน และนักศึกษาปริญญาเอกจากญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ไทย เคนยา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล แอฟริกาใต้ ยูเครน และสหราชอาณาจักร โดยกำหนดการประชุมเป็นดังนี้

กำหนดการประชุม

  1. Socializing

โดย หัวหน้านักวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. Myo Nyein Aung จาก Juntendo University ประเทศญี่ปุ่น  ทีมวิจัยของ DIHAC และผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ

  1. กล่าวเปิดการประชุม

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. Takeo Ogawa จาก Kyushu University และ Yamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น

  1. การนำเสนองาน

3.1 เรื่อง Productive Aging and Successful Aging ในสิงคโปร์

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. Feng Qiushi รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยครอบครัวและประชากรศาสตร์ (Centre for Family and Population Research: CFPR), National University of Singapore และรองประธานสมาคม Population Association of Singapore ประเทศสิงคโปร์

3.2 เรื่อง Doing the Unthinkable: Digitalization of Seniors from Virtual Befriending to AI Ecosystems

โดย คุณ Karen Wee กรรมการบริหารสมาคม Lions Befrienders Service ประเทศสิงคโปร์

3.3 เรื่อง Current Status of Primary Care Posts in Republic Korea

โดย คุณ Seokmi Hong พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญเวชปฏิบัติชุมชน (Community Health Nurse Practitioner) และผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพปฐมภูมิ

  1. การอภิปราย
  2. สรุปและการปิดการประชุม

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. Takeo Ogawa

รูปที่ 1 ประธานการประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุม ในการประชุมครั้งที่ 13

สรุปสาระการประชุม

หลายประเทศในเอเชียกำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ เช่น ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพและสังคมให้สอดรับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยแนวคิดในการพัฒนาผู้สูงอายุที่หลายหลาย เช่น Active aging, Healthy aging, Successful aging และ Productive aging อย่างไรก็ตามทุกประเทศก็ล้วนมุ่งหวังที่จะพัฒนาประชากรผู้สูงอายุในประเทศของตนเป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างผาสุก ในการจัดประชุมออนไลน์ครั้งที่ 13 นี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนางานด้านการดูแลผู้สูงอายุตามบริบทของประเทศ โดยผู้นำเสนอทั้งหมดสามท่าน และมีสาระหลักดังนี้

ผู้นำเสนอคนที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร. Feng Qiushi รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยครอบครัวและประชากรศาสตร์ (Centre for Family and Population Research: CFPR), National University of Singapore และรองประธานสมาคม Population Association of Singapore ประเทศสิงคโปร์

นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับ Productive Aging และ Successful Aging ผู้นำเสนอได้กล่าวถึงแนวคิด ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (Successful aging) ซึ่งมีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย แต่ที่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยๆ คือ แนวคิดของ Rowe และ Kahn (1987, 1997) ซึ่งให้คำนิยามว่า “Successful aging refers to a later life with less disease and disease-related disability, high level of cognitive and physical functions, and an active life style” สิงคโปร์เป็นประเทศแรกๆ ในเอเชียที่นำแนวคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุในสิงคโปร์ค่อนข้างมีความหลายหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติมากกว่าประเทศอื่นๆ ผู้วิจัยจึงมีการศึกษาว่า ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ (successful aging) สำหรับผู้สูงอายุในสิงคโปร์แท้จริงแล้วควรจะเป็นอย่างไร โดยผสมผสานทั้งแนวคิดตะวันออกและตะวันตก มาประยุกต์ใช้ ใช้วิธีวิจัยแบบ mix-method โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล เพื่อพัฒนาแบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างอายุ 50-69 ปี จำนวน 1,540 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มีความคิดเห็นว่า การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีลักษณะ คือ 1) มีความสุข 2) เคลื่อนไหวได้เอง 3) ไม่มีโรค 4) มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และ 5) มีอิสระทำอะไรได้ด้วยตนเอง แต่ในทางกลับกันกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ก็คาดหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวหรือลูกหลาน ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกลุ่มคนเชื้อสายจีน นอกจากนี้พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการมีเพื่อนและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การรับรู้ความสามารถของตน (self-efficacy) และการมีส่วนร่วมทางสังคม (social participation) เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกันคือ การได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครอบครัวและลูกหลาน

ผู้นำเสนอคนที่ 2 Ms. Karen Wee กรรมการบริหารสมาคม Lions Befrienders Service ประเทศสิงคโปร์

นำเสนอผลงานชื่อ “I-Ok ecosystem” เวอร์ชั่นที่ 5 ซึ่งเป็นมากกว่า Application ที่ใช้ดูแลผู้สูงอายุ

I-OK ecosystem ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรอบรับจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่ลำพังที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บุคลากรทางสุขภาพมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการการดูแลผู้สูงอายุ I-OK ecosystem สามารถตอบสนองความต้องการการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างองค์รวม ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตนเองในแต่ละวันได้ โดยโปรแกรมถูกกำหนดให้ผู้สูงอายุต้องเข้าใช้งาน 2 ครั้งต่อวัน หากผู้สูงอายุไม่ได้เข้าใช้งานโปรแกรมจะส่งเสียงแจ้งเตือน และหากภายใน 1 ชั่วโมงหลังการแจ้งเตือน ยังไม่มีการตอบสนอง โปรแกรมก็จะส่งข้อความเตือนไปที่ลูกหลานหรือบุคคลอื่นในครอบครัว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกเช่น การแจ้งเตือนวันนัดพบแพทย์ มี VDO call เพื่อคุยกับแพทย์ประจำตัว มีฟังก์ชั่นให้เพิ่มคลื่นวิทยุหรือเพลงที่ผู้สูงอายุชอบฟัง เพิ่มคลิปวิดีโอที่ผู้สูงอายุสนใจ มีปฏิทินให้จดตารางนัดหมายต่างๆ มีแอพพลิเคชั่น มากมาย เช่น เกมส์ฝึกสมอง เกมส์จับคู่ และเกมส์ที่สอดแทรกความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การระวังการถูกโจรกรรมข้อมูลจากโลกออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อมูลภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไปยังหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้แบบ Real-time

รูปที่ 2 I-OK Ecosystem จากสไลด์ของ Ms. Karen Wee

ผู้นำเสนอคนที่ 3 Ms. Seokmi Hong พยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญเวชปฏิบัติชุมชน (Community Health Nurse Practitioner) จากสาธารณรัฐเกาหลี

นำเสนอเรื่อง “Current status of primary health care posts in Republic of Korea” การปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล (remote area) ซึ่งไม่มีแพทย์ประจำการ มีเพียงพยาบาลวิชาชีพประจำการ 1 คนเท่านั้น พยาบาลจึงเป็นทั้งผู้ประเมินภาวะสุขภาพ ผู้ให้การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาเบื้องต้น ฟื้นฟูสภาพ ผู้ประสานงานกับทีมสุขภาพอื่น และผู้ส่งต่อผู้ป่วย จุดเด่นของที่นี่คือ แม้จะเป็นพื้นที่ห่างไกลและมีอาคารหลังเล็กเพียงหลังเดียวที่ต้องให้บริการสุขภาพแบบครบวงจร แต่ผู้สูงอายุทุกคนในพื้นที่สามารถได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีระบบ telemedicine ในการสื่อสารและประชุมปรึกษาทางสุขภาพระหว่างทีมสุขภาพ

สรุปสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนได้เรียนรู้:

  1. การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุ จำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่
  2. การเชื่อมโยงข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างศูนย์บริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิเป็นสิ่งจำเป็นและควรได้รับการพัฒนา เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
  3. Network และ Collaboration เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ดังเช่นความสำเร็จที่ผู้นำเสนอได้นำเสนอนั้น ล้วนเกิดจากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และทีมสุขภาพ  ผู้ซึ่งใกล้ชิดผู้สูงอายุ

About authors:

Thitima Piyathanapong is a Ph.D. Candidate of ASEAN Institute for Health Development, Mahidol University, Thailand, and Ph.D. Student of Internship Program at Department of Global Health Research, Juntendo University Graduate School of Medicine, Japan. She is Nursing Instructor at Faculty of Nursing, HRH Princess Chulabhorn College of Medical Science, Chulabhorn Royal Academy, Thailand

Feng Qiushi, Ph.D., is Associate Professor and Deputy Head of Department of Sociology and Anthropology, Deputy Director, Centre for Family and Population Research (CFPR), Vice President, Population Association of Singapore, National University of Singapore

Karen Wee is the Executive Director at Lions Befrienders Service Association, Singapore

Seokmi Hong is a Community Health Nurse Practitioner, Community Health Director, Saje Primary Healthcare post, Wonju, Republic of Korea

Myo Nyein Aung, MD, MSc, Ph.D., is Associate Professor at the Department of Global Health Research, Graduate School of Medicine, Juntendo University, Tokyo, Japan. He is also affiliated with the Advanced Research Institute for Health Sciences and the Faculty of International Liberal Arts, Juntendo University, Tokyo, Japan.

Takeo Ogawa, Ph.D., is Professor Emeritus, Kyushu University and Yamaguchi University, Japan. He chaired the meeting.