20th DIHAC cross-cultural exchange meeting analysis report (Thai)

2024.01.16

20th DIHAC cross-cultural exchange meeting analysis report

2023.12.20

Fostering Healthy Ageing through Innovative App and Cancer Screening Awareness via E-media: Digital Health Initiatives in the UK and Malaysia

Kanokporn Pinyopornpanish, Myo Nyein Aung

This article is collaboration of DIHAC study team, Juntendo University, Japan and Chiang Mai University, Faculty of Medicine, Department of Family Medicine team, Thailand.

Report in Japanese  Report in English 

เทคโนโลยีดิจิทัล (digital technologies) ได้รับการใช้งานอย่างมากขึ้นทั่วโลกเพื่อสุขภาพที่ดีในผู้สูงวัย การส่งเสริมสุขภาพ และการตรวจวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะในช่วงการระบาดและหลังจากการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ถึงแม้ว่าจะมีการจัดบริการสุขภาพที่เข้าถึงได้ แต่การใช้บริการเหล่านี้ยังเป็นที่ท้าทาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง เนื่องจากมีความแตกต่างในการเข้าถึงข้อมูลบริการสุขภาพและการรับรู้ต่ำเกี่ยวกับการตรวจจับและวินิจฉัยโรคต่าง ๆ  ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง ภายในการประชุมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม Digitally Inclusive Healthy Ageing Communities (DIHAC) ครั้งที่ 20 ผู้นำเสนอ 2 ท่าน ได้นำเสนอแนวคิดและโครงการนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อปรากฏการณ์ขนาดใหญ่ 2 ปรากฏการณ์ อันได้แก่ การถือกำเนิดของเทคโนโลยีดิจิทัลและสุขภาพที่ดีในผู้สูงวัย ผู้บริหารของ Cricketqube จากสหราชอาณาจักรได้นำเสนอแอปพลิเคชันเพื่อติดตามกิจกรรมทางกายและเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและสังคมในสหราชอาณาจักร และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเคบังซานมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia; UKM) ได้นำเสนอผลของการใช้วิดีโอในการช่วยตัดสินใจ (DAVOCS®) เพื่อเพิ่มการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิของประเทศมาเลเซีย

กล่าวเปิดการประชุม

ศาสตราจารย์ Myo Nyein Aung ผู้นำโครงการ DIHAC เป็นเจ้าภาพของการประชุม ได้กล่าวต้อนรับประธานการประชุม นาย Michikazu Koshiba หัวหน้าของศูนย์สถาปัตยกรรมสุขภาพโลกที่ MITSUBISHI UFJ Research & Consulting ซึ่งนาย Michikazu ได้เคยเป็นพิธีกรในการประชุมระดับโลกหลายการประชุม รวมทั้งสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นที่ปรึกษากลยุทธ์ซึ่งในปัจจุบันเน้นไปที่นวัตกรรมด้านดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้ย้ำถึงความสำคัญของการสร้างชุมชนสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยที่ครอบคลุมการใช้ดิจิทัล รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายเพื่อรวมผู้สูงอายุเข้าไว้ในสังคมของเรา ในการประชุม DIHAC ครั้งที่ 20 นี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้เข้าร่วม อันได้แก่ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากด้านสุขภาพโลก (global health) ด้านผู้สูงอายุ (gerontology) ด้านวิทยาศาสตร์สังคม (social science) ด้านเศรษฐกิจ ด้านการดูแลสุขภาพ ผู้นำโปรแกรม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน นักประกอบการ และนักศึกษาปรัชญาดุษฎี จากประเทศญี่ปุ่น ไทย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย เม็กซิโก อินโดนีเซีย จีน และสหราชอาณาจักร

Figure: Chairperson Mr. Michikazu Koshiba, speakers, international audience and DIHAC study team at the 20th DIHAC meeting

การนำเสนอที่ 1 – The United Kingdom

นาย Alosh K Jose ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหาร Cricketqube ซึ่งเป็นองค์กรในสหราชอาณาจักรที่ส่งเสริมสุขภาพของคนโดยกระตุ้นกิจกรรมทางกายผ่านการจัดการอบรมเกี่ยวกับการเล่นคริกเกต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงกิจกรรมสำหรับกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และชุมชนที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องของการทำงานของสมอง มีการจัดกิจกรรมมากกว่า 30 ครั้งต่อเดือนสำหรับคนกว่า 500 คน รวมถึงกิจกรรมระหว่างรุ่น (inter-generational activities) โดยร่วมมือกับองค์กรการกุศลภายในประเทศ หน่วยบริการปฐมภูมิ แพทย์ทั่วไป และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่น ณ ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุเกือบ 11 ล้านคน (19% ของประชากรทั้งหมด) ในสหราชอาณาจักร ในอีก 20 ปีนี้ จำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 24% ของประชากร (1) ผู้สูงอายุมีความแตกฉานและทักษะทางด้านดิจิทัล (digital literacy) น้อยกว่ารุ่นเด็ก ดังนั้นจึงมักเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและสังคม ในการประชุม DIHAC ครั้งที่ 20 นาย Alosh ได้นำเสนอแอปพลิเคชัน “AgeWise” ซึ่งเป็นแอปที่ใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงวัย ซึ่งออกแบบสำหรับผู้สูงวัยที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะ โดยสามารถใช้แอปในการติดตามกิจกรรมทางกายและค่าต่าง ๆ ได้ โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นประมาณ 8 เดือนที่แล้ว มีการให้บริการในสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สวมใส่ ในภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีสำหรับกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุยังพบว่ามีความยากลำบากในการค้นหาและจองโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แอป AgeWise ได้รวบรวมโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายท้องถิ่นและออนไลน์ที่จำเพาะเจาะจงสำหรับผู้สูงอายุ และได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้งานบนพื้นฐานความสนใจของแต่ละคน รวมไปถึงในเรื่องสถานที่ ซึ่งตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ การเดิน การเล่นคริกเกต และการเข้าร่วมชมรมการอ่าน

แอปพลิเคชันนี้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและด้านสุขภาพจิตและสังคมให้กับผู้ใช้ สามารถให้คำแนะนำผู้ใช้ให้พบผู้เชี่ยวชาญภายในโครงสร้างด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งรวมถึงผู้กำกับการรักษาทางสังคม (social prescribers) นักจิตบำบัด ร้านขายยาในชุมชน และโค้ชด้านสุขภาพภายในกรอบของ NHS เพื่อให้พวกเขาสามารถส่งต่อด้วยตนเองได้ เป็นการลดภาระของหมอทั่วไปในคลินิกปฐมภูมิ นอกจากนี้ ยังมีส่วนของสุขศึกษา มีแผ่นข้อมูลเกี่ยวกับโรคทั่วไปที่บพบบ่อยในผู้สูงอายุและคำถามที่พบบ่อย (FAQs) เกี่ยวกับวิธีการจัดการโรคร่วมเรื้อรัง แอป AgeWise จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากโทรศัพท์ อุปกรณ์สวมใส่ และการสำรวจ แล้วจากนั้นปัญญาประดิษฐ์จะช่วยปรับให้คำแนะนำเข้ากับวิถีชีวิตของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ แอปยังเชื่อมกับองค์กรที่ดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดการปรับเป้าหมายการดูแลให้สอดคล้องไปกับเรื่อง “แผนดูแลส่วนบุคคลสากล (universal personalized care plan)” ของ NHS ในปี 2024 (2) มีแดชบอร์ดสำหรับองค์กรที่ดูแลสุขภาพให้เห็นข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ระยะเวลาการออกกำลังกาย อัตราการเต้นหัวใจ รูปแบบการนอน สภาวะจิตใจ เพื่อให้การดูแลที่เหมาะสมรายคน การวิเคราะห์ข้อมูลจะทำให้ได้คำแนะนำส่วนบุคคลให้กับทั้งผู้สูงอายุและองค์กรผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ ผู้เข้าร่วมประชุมได้อภิปรายประเด็นการรวมชนกลุ่มน้อยผ่านประเด็นทางสังคม ความยั่งยืนของการคงพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และการร่วมมือกับ National Health Service (NHS) และ Primary Care Network (PCN)

 

การนำเสนอที่ 2 – Malaysia

รศ.ดร.พญ. Azmawati Mohammed Nawi ผู้เชี่ยวชาญด้าน Public Health และอาจารย์ Department of Public Health Medicine, Faculty of Medicine Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) ได้เล่าให้ฟังถึงการใช้ Development and Evaluation of Decision Aid Video on Colorectal Cancer Screening Uptake (DAVOCS®) ในผู้ป่วยที่หน่วยบริการปฐมภูมิ มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เป็นสาเหตุหลักอันดับสามที่ทำให้ประชากรทั่วโลก เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง (3) และยังอยู่ในอันดับที่สองในประเทศมาเลเซียรองจากมะเร็งเต้านม และอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้มีการเพิ่มขึ้นทุกปีในประเทศมาเลเซีย (4) เหตุผลประกอบด้วย (i) มีสัดส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ต่ำในคนมาเลเซีย (<1% ได้รับการตรวจ FOBT), (ii) ความตระหนักต่ำเกี่ยวกับการตรวจคัดกรอง, (iii) ลักษณะของโรคที่มักไม่มีอาการและการวินิจฉัยมักเจอในระยะท้าย (late-stage) รวมถึง (iv) ขาดตัวช่วยในการตัดสินใจสำหรับการตรวจคัดกรองในประเทศมาเลเซีย (5) ในศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าที่รวดเร็วและนวัตกรรมในเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตได้ทำให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-media) เป็นเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาพที่มีศักยภาพมากในการเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ เป็นผลให้ ทีมของคุณหมอ Azmawati ได้พัฒนาวิดีโอสนับสนุนการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ (DAVOCS®) ในกลุ่มผู้ป่วยที่หน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental study) บนฐานของโมเดลความเชื่อทางสุขภาพ (health belief model) ในการประเมินผลลัพธธและผลจากการใช้เครื่องมือนี้ โดยผลการศึกษาพบว่า DAVOCS® ได้เพิ่มการเข้ารับการตรวจ FOBT และการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร รวมถึงการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองเมื่อเทียบกับการดูแลปกติ แม้ว่าจะยังไม่มีระบบประกันสุขภาพแห่งชาติและการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ไม่ได้รวมอยู่ในโปรเกรมของประเทศมาเลเซีย แต่มักมีการแนะนำการตรวจนี้ให้กับผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีเมื่อมาตรวจที่ห้องตรวจ ดังนั้น การใช้ e-media น่าจะเป็นประโยชน์และมีผลช่วยในการตัดสินใจกับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เนื้อหาใน VDO นั้นถูกพัฒนาจากการอภิปรายแบบกลุ่ม (focus group discussion) และการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ทดลองนำร่องในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี ที่ห้องตรวจใน Kuala Lumpur จำนวนทั้งสิ้น 191 คน

เนื้อหาใน VDO ประกอบไปด้วยอนิเมชั่นและการแสดงโดยคน ความยาวประมาณ 7 นาทีครึ่ง ซึ่งส่วนของอนิเมชั่นได้อธิบายความรู้เชิงระบาดวิทยาของมะเร็งลำไส้ ปัจจัยเสี่ยง ภาพของติ่งเนื้อที่อาจเป็นระยะก่อนมะเร็ง (pre-cancerous stage) ตัวอย่างการรักษา สุขศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักได้รวมอยู่ในส่วนนี้ด้วย โดยมีการอธิบายว่าการตรวจคัดกรองเป็นพฤติกรรมแสวงหาสุขภาพเชิงรุก ซึ่งสามารถทำได้เมื่อมีสิทธิ์และร้องขอได้ที่คลินิกสุขภาพและโรงพยาบาล ส่วนการแสดงโดยคนนั้นเป็นการเล่าประสบการณ์ของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งลำไส้จากการได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและได้รับการรักษา จากการศึกษานี้ ในกลุ่มทดลองที่ได้ดู VDO พบว่ามี 2 รายที่ผลการตรวจคัดกรองเป็นบวกและรู้สึกดีที่ได้รับการตรวจพบแต่เนิ่นๆ ผลด้านประสิทธิภาพ พบว่า ผู้ที่ได้ดู VDO มีสัดส่วนเป็น 2 เท่าที่อยากได้รับการตรวจคัดกรองและมีความรู้ที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มดูแลปกติ เนื้อหาใน DAVOCS® ถูกออกแบบเพื่อให้เข้ากับชุมชนท้องถิ่นในมาเลเซีย จึงเชื่อได้ว่าผลการศึกษานี้จะใช้กับประชากรของมาเลเซียได้ ทิศทางการพัฒนาน่าจะเป็นการนำไปใช้โดยผุ้เกี่ยวข้องและเพิ่มการเปลี่ยนภาษาเช่น ภาษาจีน อนิเดียว และทำการศึกษาเพิ่มเติมในรูปแบบ RCT ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นการสนับสนุนจากครอบครัว ความต่างด้านวัฒนธรรม พฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี และ cost-effectiveness ของการคัดกรองมะเร็งลำไส้

 

กล่าวปิด

นาย Mitsukazu สรุปการประชุม เน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาสุขภาพทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม ผ่านการแทรกแซงทางสังคม DAVOCS® ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้าใจเรื่องการคัดกรอง VDO นี้มีโอกาสที่จะส่งผลสำคัญต่อการตัดสินใจและลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรับการคัดกรอง ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลและสังคมผู้สูงวัยต่างก็เป็นสิ่งที่ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างเช่นการเล่นคริกเกตที่ Criketqube เป็นการแทรกแซงทางสังคมที่มีชุมชนเป็นฐานเพื่อให้เกิดผู้สูงวัยสุขภาพดี และแอป AgeWise ก็สร้างสิ่งแวดล้อมสำหรับ “ageing in place” โดยผสานเข้ากับบริการทางสังคมที่มีอยู่เดิม ในขณะที่ e-media สามารถนำให้เกิดการตรวจพบโรคมะเร็งและวินิจฉัยแต่เนิ่นๆได้ซึ่งอาจช่วยทำให้ยืดช่วงเวลาอายุขัยที่มีสุขภาพดี (healthy life expectancy) ในประชากรได้ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้เป้าหมายของเราที่จะทำให้เกิดผู้สูงวัยสุขภาพดีประสบความสำเร็จ ซึ่งเข้ากับเป้าหมายในปี 2030 ของ SDGs – the decade of Healthy ageing (2020-2030) ผู้นำเสนอทั้ง 2 ท่านได้เชื่อมช่องว่างระหว่างนโยบายและการนำไปปฏิบัติจริง (Policy-Implementation Gap) ในระดับมหภาค (Macro-levels) และมัชฌิมภาค (Meso-levels) และช่องว่างระหว่าง ความตั้งใจและพฤติกรรม (Intension-Behavior Gap) ในระดับจุลภาค (micro-levels) ตามเป้า “leave no one behind” (10)

ศาสตราจารย์ Myo ประกาศการประชุม DIHAC ครั้งต่อไป ครั้งที่ 21 เดือนกุมภาพันธ์ 2567 สวัสดีปีใหม่

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Statistics UGOfN. Population and household estimates, England and Wales: Census 2021 2022 [Available from: https://www.ons.gov.uk/peoplepopulationandcommunity/populationandmigration/populationestimates/bulletins/populationandhouseholdestimatesenglandandwales/census2021unroundeddata.
  2. UK NHSN. Personalised care [Available from: https://www.england.nhs.uk/personalisedcare/#:~:text=Personalised%20Care%20will%20benefit%20up,other%20aspect%20of%20their%20life.
  3. Cancer WHOIAfRo. Estimated age-standardized mortality rates (World) in 2020, World, both sexes, all ages (excl. NMSC).
  4. Malaysia MoH. National cancer registry report: Malaysia cancer statistics-data and figure 2007- 2011 [Available from: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.crc.gov.my/wp-content/uploads/documents/report/MNCRRrepor2007-2011.
  5. Ramli NSM, M.R.A.; Hassan, M.R.; Ismail, M.I.; Nawi, A.M. Effectiveness of Colorectal Cancer Screening Promotion Using E-Media Decision Aids: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Environ Res Public Health 2021;2021, 18,
  6. (ITU) ITU. Ageing in a digital world – from vulnerable to valuable 2021 [Available from: https://www.itu.int/hub/publication/d-phcb-dig_age-2021/.

ผู้เขียน

Kanokporn Pinyopornpanish, M.D., Ph.D. is Associate Professor at the Department of Family Medicine, Chiang Mai University, Thailand

Myo Nyein Aung, M.D., M.Sc., Ph.D. is Associate Professor at the Department of Global Health Research, Graduate School of Medicine, Juntendo University, Tokyo, Japan